รวมบทความไฟฟ้าน่ารู้

สะเก็ดไฟ คืออะไร ? อันตรายไหม ?

สะเก็ดไฟ คืออะไร เกิดขึ้นจากอะไร ? สะเก็ตไฟ เป็นสิ่งที่สามารถพบเห็นได้บ่อย ในการจัดการกับวัตถุดิบ และการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเกิดสะเก็ดไฟจากการตัด เชื่อมเหล็กในการผลิตสินค้า สะเก็ดไฟที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร แล้วสะเก็ตไฟนี้ก็เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงด้วย เพราะสะเก็ดไฟก็ยังมีความร้อน และอาจจะมีสะเก็ดโลหะออกมาด้วย อันตรายจาก สะเก็ดไฟ สะเก็ดไฟนั้นนอกจากความร้อนที่กระเด็นออกมาแล้ว สำหรับการตัดเชื่อมเหล็ก ก็อาจจะมีสะเก็ดโลหะออกมาด้วย ตัวอย่างอันตรายจากสะเก็ดไฟ อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคลความร้อนที่เกิดจากสะเก็ดไฟ เมื่อสัมผัสกับผิวหนังก็อาจจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองหรือเกิดรอยไหม้ได้เศษโลหะที่เกิดจากสะเก็ดไฟ เมื่อสัมผัสกับผวินหังก็จะทำให้เกิดแผลขึ้นได้และถ้าหากถูกเศษเหล็กเข้าสู่ตา ทำให้ดวงตาเกิดการระคายเคือง ติดเชื้อที่แผล หรือจนกระสั่งสูญเสียการมองเห็นได้เลยทีเดียวแสงที่เกิดจากสะเก็ดไฟ อาจจะทำให้สายตาพร่ามั่ว และอาจจะทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งของความร้อนที่เกิดจากสะเก็ดไฟ…

Continue Readingสะเก็ดไฟ คืออะไร ? อันตรายไหม ?

Flame Retardants คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

วัสดุต่างๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ ในอุตสาหกรรมมีอยู่มากมาย แต่วัสดุที่นำมาใช้หลายชนิดก็มีคุณสมบัติที่ติดไฟ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายจากอัคคีภัยได้ ดังนั้น สารหน่วงไฟ (Flame Retardants) จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาและถูกเติมแต่งลงไปในวัสดุต่างๆ เพื่อช่วยลดปัญหาและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากการติดไฟ และใจปัจจุบันในหลากหลายอุตสาหกรรมจึงได้นำมาใช้มาเป็นจำนวนมาก สารหน่วงไฟ (Flame Retardants) คืออะไร ? Flame Retardants หรือจะเรียกในภาษาบ้านเราว่า สารหน่วงไฟ เป็นสารกลุ่มสารเคมีหลายชนิดที่มีคุณสมบัติและโครงสร้างที่มีหน้าที่ในการป้องการติดไฟ การลามไฟ ที่ได้นำไปเติมลงไปในวัสดุต่างๆ ที่สามารถติดไฟได้ เพื่อไม่ให้วัสดุนั้นติดไฟได้ หรือชะลอการแพร่กระจายของไฟ สารหน่วงไฟ (Flame…

Continue ReadingFlame Retardants คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

RoHS มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม

RoHS คืออะไร RoHS เป็นมาตรฐานจากสหภาพยุโรป หรือ EU โดยมีชื่อเต็มจาก Restriction of Hazardous Substances โดยระบุอยู่ในข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ซึ่งมาตรฐาน RoHS นั้นจะกล่าวถึงการใช้สารที่เป็นอันตรายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ รวมถึงอุปกรณ์ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการดำเนินการทำงาน แผงวงจร สายไฟ เป็นต้น เพราะสารต่างๆ เหล่านี้จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการจัดการ การทำลายเศษขยะอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดกฎข้อบังคับดังกล่าวนี้ขึ้นมา เพื่อนป้องกันอันตรายและการปนเปื่อนจากการใช้งาน สำหรับสัญลักษณ์ของ RoHS ที่พบได้บ่อย ก็มักจะเป็น…

Continue ReadingRoHS มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม

หุน หน่วยวัดนี้คืออะไร วัดอย่างไร

หน่วยวัด ในปัจจุบันมีอยู่มากมายที่ใช้ในการวัดความยาวของอุปกรณ์ในแต่ละอย่าง ตัวที่ได้รับความนิยมก็เช่น เซนติเมตร เมตร กิโลเมตร แต่ก็ยังมีหน่วยวัดอีกชนิดหนึ่งที่ยังเห็นในการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน นั่นก็คือ หน่วยหุน นั่นเอง สำหรับหน่วยหุนนั้นโดยทั่วไปนิยมใช้ในการวัดขนาด พบเห็นได้บ่อยในอุตสาหกรรมท่อประปา ท่อเหล็ก ท่อไฟ โดยปกติแล้วด้านความยาวของท่อมักจะวัดเป็น หน่วยเมตร เซนติเมตร แต่พอเป็นด้านหน้าตัดของตัวท่อ กลับมาใช้ หุน แทน เรามารู้จักกับ หุนจากบทความนี้ได้เลยครับ หุน คืออะไร ? หุน คือหน่วยวัดชนิดหนึ่ง ที่เป็นหน่วยที่เล็กกว่านิ้ว โดยจะแบ่งออกเป็น…

Continue Readingหุน หน่วยวัดนี้คืออะไร วัดอย่างไร

ฉนวนไฟฟ้า คืออะไร ? ทำไมถึงจำเป็นต้องใช้

ฉนวนไฟฟ้า คืออะไร ? ฉนวนไฟฟ้า เป็นประเภทของวัสดุชนิดหนึ่งที่คุณสมบัติที่ไม่ให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านวัสดุเหล่านี้ออกไปได้ หรือมีความต้านทานสูงต่อกระแสไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้โดยง่าย โดยปัจจุบันฉนวนไฟฟ้านั้นก็นำมาใช้งานอย่างหลากหลายในหลายๆผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม และอุปกรณ์ต่างๆ อีกมากมาย ทำไมถึงต้องใช้ฉนวนไฟฟ้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานร่วมกับกระแสไฟฟ้าที่จะต้องส่งผ่านกระแสไฟฟ้าด้วยตัวนำไฟฟ้า ซึ่งการสัมผัสกับตัวนำไฟฟ้าโดยตรงจะมีความอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะกระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านตัวเราทำให้เกิดไฟดูด เมื่อได้รับกระแสไฟฟ้ามีแรงดันสูงก็สามารถทำให้อันตรายต่อชีวิตอีกด้วย และถ้าตัวนำไฟฟ้ามาสัมผัสกันเองจะก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้มีความสูญเสียเกิดขึ้น ดังนั้นฉนวนไฟฟ้าจึงได้ถูกผลิตขึ้นมา เพื่อช่วยป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าหากมีการสัมผัสโดน และช่วยป้องกันไม่ให้ตัวนำ 2 ตัวที่จะสัมผัสกันโดยตรง จึงช่วยลดอันตรายจากการใช้งานไฟฟ้า และป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยตัวอย่างฉนวนไฟฟ้าที่มีความนิยมใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เช่น ยาง แก้ว พลาสติก…

Continue Readingฉนวนไฟฟ้า คืออะไร ? ทำไมถึงจำเป็นต้องใช้

จับปุ๊บ ช็อตปั๊บ ไฟฟ้าสถิต คืออะไร ?

ปัญหาไฟฟ้าสถิต เป็นอีกปัญหาที่หลายๆ คนคงได้พบเจออยู่บ่อยๆ อย่างที่ใกล้ตัวที่สุด คือ การไปใช้บริการที่ห้างสรรพสินค้า และเข็นรถเข็น พอถึงระยะเวลาหนึ่ง พอสัมผัสกับโลหะก็จะรู้สึกเหมือนโดนไฟช็อตอยู่ในระยะเวลาหนึ่ง หรือในการทดสอบในห้องเรียน โดยการทำผ้าถูกับลูกโป่งแล้วนำลูกโป่งมาใกล้กับเส้นผมและเส้นผมก็จะชี้ขึ้นไปยังลูกโป่ง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนี้ คือการเกิด "ไฟฟ้าสถิต" แล้วไฟฟ้าสถิตนี้คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไรมาลองติดตามได้จากบทความนี้ได้เลยครับ ไฟฟ้าสถิต คืออะไร ไฟฟ้าสถิต (Static electricity) คือ ปรากฎการณ์ที่บนผิวของวัสดุนั้นมีปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบไม่เท่ากัน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่พื้นผิวสองชนิดมีการสัมผัสและแยกออกจากกัน โดยที่ด้านหนึ่งมักจะเป็นพื้นผิวที่มีความต้านทานสูงต่อกระแสไฟฟ้า (หรือเป็นฉนวนไฟฟ้า) โดยปกติแล้ววัสดุหรือพื้นผิวมักจะเป็นกลางทางไฟฟ้า เพราะภายในอะตอมจะมีประจุบวก (โปรตอนในนิวเคลียส) และจำนวนของประจุลบ…

Continue Readingจับปุ๊บ ช็อตปั๊บ ไฟฟ้าสถิต คืออะไร ?

รู้ลึกมากขึ้นกับสแตนเลส 304

สวัสดีครับ หลังจากที่ได้รู้จักกับสแตนเลสชนิดต่างๆ กันไปแล้ว แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสแตนเลสประเภทหนึ่งที่ พบเห็นได้บ่อยที่สุดชนิดหนึ่งของสแตนเลส นิยมใช้ทั้งภายในครัวเรือนจนถึงระดับอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นทำเป็นวัสดุต่างๆ ทั้งโต๊ะ เครื่องครัว เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสแตนเลสที่ผมจะพูดถึง คือ สแตนเลส 304 นั่นเอง ซึ่ง สแตนเลส 304 นั้น จะพบได้มากกับอุตสาหกรรมอาหาร แล้วการนำโลหะชนิดนี้มาใช้กับอาหารจะปลอดภัยจริงหรือไม่ ถูกสุขลักษณะหรือเปล่า มาติดตามได้จากบทความนี้ได้เลย สแตนเลส 304 คืออะไร ? สแตนเลส…

Continue Readingรู้ลึกมากขึ้นกับสแตนเลส 304

BSI Kitemark คืออะไร ?

การที่สินค้าที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานสากล เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าได้รับความมั่นใจในการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า ซึ่งในปัจจุบันมาตรฐานสากลมีอยู่มากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นที่เราจะมาพูดถึงคือ BSI Kitemark BSI Kitemark คืออะไร https://www.youtube.com/watch?v=vOeU4MIjJOo&t=2s BSI Kitemark เป็นมาตรฐานหนึ่งที่ถูกจัดการโดยองค์การ BSI โดยมาตรฐานนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงคุณภาพ (คล้ายกับ มอก. ภายในประเทศไทย) และความปลอดภัยจากสินค้า และเป็นมาตรฐานหนึ่งที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดตัวหนึ่ง โดยมาตรฐานตัวนี้เดิมมีการใช้งานภายในเฉพาะประเทศอังกฤษ (สหราชอาณาจักร) แต่ในปัจจุบันการใช้งาน BSI Kitemark ก็เป็นอีกมาตรฐานหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงคุณภาพของสินค้า ซึ่งสินค้าที่ได้รับมาตรฐาน BSI Kitemark ก็มีโอกาสทางการแข่งขันที่สูงขึ้น…

Continue ReadingBSI Kitemark คืออะไร ?

รู้จักกับเหล็กกัลวาไนซ์ และเหมาะกับการใช้งานอย่างไร

ขึ้นชื่อว่าเหล็ก หรือโลหะ เมื่อมีการใช้งานไปเรื่อยๆ ในระยะเวลาหนึ่ง ก็จะเริ่มการกัดกร่อนจากการใช้งานหรือจากสภาพแวดล้อม ซึ่งอาจจะทำให้เสียหายหรือเกิดสนิม โดยวิธีป้องกันสนิมนั้นมีอยู่ในหลากหลายวิธี อาทิเช่น การชุบเหล็กกับกัลวาไนซ์ การทาสีกันสนิม หรือการเลือกใช้โลหะที่ไม่เป็นสนิม เช่น อลูมิเนียม สแตนเลส เป็นต้น สำหรับในบทความนี้จะขอพูดถึง การชุบเหล็กกับกัลวาไนซ์ (Galvanizing) เหล็กกัลวาไนซ์ (Galvanize) คืออะไร เหล็กกัลวาไนซ์คือการทำเหล็กที่ขึ้นรูปแล้วมาทำการเคลือบด้วยสังกะสี โดยที่การเคลือบสังกะสี จะมีประโยชน์กับการป้องกันตัวเหล็ก

Continue Readingรู้จักกับเหล็กกัลวาไนซ์ และเหมาะกับการใช้งานอย่างไร

เดินสายไฟในบ้าน แบบไหนดี แบบไหนเหมาะ

รู้จักกับ การเดินไฟในบ้าน การเดินไฟในบ้าน เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ผู้ที่จะสร้างบ้านใหม่ต้องวางแผนตั้งแต่การเริ่มสร้างบ้านใหม่ เพราะจะเกี่ยวข้องกับการติดตั้ง ความสวยงาม ความยากง่ายในการติดตั้ง และยังส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอีกด้วย โดยที่การเดินสายไฟภายในบ้านก็จะแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ นั่นคือ เดินสายไฟแบบฝังผนัง และการเดินสายไฟแบบเดินลอย ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันไป 1. การเดินสายไฟแบบฝังผนัง เป็นวิธีการเดินสายไฟที่ใช้ฝังเข้าไปในผนังเลย จึงทำให้เมื่อทำการเดินสายเรียบร้อยแล้วจะดูเรียบร้อยสวยงาม ไม่มีสายไฟให้เห็น ซึ่งสามารถทำได้ทั้งผนังเบาและผนังอิฐ โดยจะทำการเดินสายไฟภายในท่อที่จะติดตั้งในช่องที่ได้เจาะผนังที่ได้เตรียมไว้ ข้อดีของการเดินสายไฟแบบฝังผนัง ดูเรียบร้อยสวยงาม ไม่เห็นสายไฟประหยัดพื้นที่ ไม่มีบล็อคลอยออกมาจากกำแพงสายไฟที่ติดตั้งภายในผนังจะมีความทนทานสูงกว่า เพราะไม่ต้องพบเจอกับสภาพอากาศภายนอกมีความปลอดภัยต่อไฟฟ้าลัดวงจรมากกว่า ข้อจำกัดของการเดินสายไฟแบบฝังผนัง ขั้นตอนการติดตั้งค่อนข้างยุ่งยากจำเป็นต้องใช้ช่างที่ชำนาญในการติดตั้งหากเกิดชำรุดภายในจุดที่มองไม่เห็น…

Continue Readingเดินสายไฟในบ้าน แบบไหนดี แบบไหนเหมาะ

พลาสติก PE ดีอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง

พลาสติก PE (Polyethylene) คืออะไร ? พลาสติก PE หรือ Polyethylene เป็นสารที่ข้นขาว โปร่งแสงที่ได้จากเอทิลีน นำมาผลิตและขึ้นรูปมาเป็นพลาสติกซึ่งจะสามารถแบ่งได้อีกหลายประเภท ตามความหนาแน่นของการผลิต ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของพลาสติก PE คือความเหนียว ทนทาน สามารถป้องกันความชื้นได้ น้ำหนักเบา ยืดตัว เป็นฉนวนไฟฟ้าทนต่อกรดและด่างอ่อน โดยพลาสติก PE พบได้บ่อยในอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะนำมาแปรรูปเป็น วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนรถยนต์ บรรจุภรรณ์ และยังนำมาใช้ในงานอื่นๆ อีกมากมาย…

Continue Readingพลาสติก PE ดีอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง

เครื่องปรับอากาศ คืออะไร ทำงานอย่างไร ?

ปัจจุบันการใช้งานเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ มีเพิ่มขึ้นตลอด โดยเฉพาะภายในอาคาร ห้างสรรพสินค้า รวมถึงบ้านเรือนเองก็มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพราะช่วยในการแก้ไขปัญหาอากาศร้อนๆ ลงไปได้ มารู้จักกับเครื่องปรับอากาศให้มากขึ้นกับบทความนี้ เครื่องปรับอากาศคืออะไร ? เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ใช้ในการปรับอุณหภูมิให้กับภายในห้องที่ต้องการให้เย็นลง และคงที่ ซึ่งจริงๆ แล้วเครืองปรับอากาศจะไม่ได้มีเฉพาะทำความเย็นอย่างเดียว ในต่างประเทศที่มีอากาศหนาวอยู่แล้วก็จะใช้อีกชนิดหนึ่งนั่นคือ เครื่องทำความร้อน (Heater) แทน สำหรับในบทความนี้จะพูดถึงเครื่องปรับอากาศที่ทำความเย็น ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกของเครื่องปรับอากาศ มีหน้าที่ในการเคลื่อนสารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ ทำให้สารทำความเย็นมีคุณหภูมิและความดันสูงขึ้นคอยล์ร้อน (Condenser)…

Continue Readingเครื่องปรับอากาศ คืออะไร ทำงานอย่างไร ?